ห้องสมุดOnline



กรุณารอสักครู่ หนังสือกำลังโหลด

วิปัสสนานัย๑



วิปัสสนานัย ๒


อานาปานทีปนี


อริยวินัย


ธรรมบทย่อ


พระไตรปิฎกร่วมสมัยไตรภาค


เจ็ดก้าวย่างอย่างพุทธะ 

วิสุทธิมรรคฉบับสมูบรณ์


คาถาธรรมบทไทยอังกฤษ


ธรรมบทภาค๑


ธรรมบทภาค ๒


ธรรมบทภาค ๓


ธรรมบทภาค ๔


ธรรมบทภาค๕


ธรรมบทภาค๖
ธรรมบทภาค๗
ธรรมบทภาค๘

ประโยชน์ของการสวดมนต์


ปาฏิโมกข์แปล


โพธิปักขิยธรรม


๔๕พรรษา


คุณธรรมของคนดี


การทอดกฐิน


แก่นแท้พระศาสนา


ถอดคำประพันธ์เวสสันดร


เวสสันดรวิเคราะห์


จิต


สนทนาธรรม


อินทรีย์​๕


ปัญญาญาณ


ศาสนาเชน


คู่มือการประขุมสัมมนา


การปกครองคณะสงฆ์ในสหรัฐอเมริกา


ชีวิตหลังความตาย


ประวัติพระปริตร

วิธีพูดให้คนอื่นคล้อยตาม


หนังสือไหว้พระสวดมนต์ ภาษาอังกฤษ


มหาสติปัฏฐานสูตร
ปริตตธรรม ๓๒ ตำนาน


หนังสือสวดมนต์พระครูสมุห์เอี่ยม



อ่านหนังสือที่เหลือได้ที่ 

ธนบัตรทุกรุ่นของในหลวงร.๙


ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนา




……………………………………………….จบโค๊ชหนังสือออนไลน์เพียงเท่านี้.........................................................................
ต่อไปเป็นส่วนเสริม
 ธรรมบทเรื่อง จูฬบันถก



"เรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก"

พระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์ชื่อ จูเฬกสาฎก ตรัสพระธรรมเทศนาที่ขึ้นต้นด้วยบาทพระคาถานี้ว่า อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ เป็นต้น

วัน หนึ่ง พราหมณ์ผู้สามี ไปฟังธรรมในสำนักของพระพุทธเจ้า มีศรัทธาอย่างยิ่งยวด อยากถวายผ้าห่มผืนเดียวนั้น เพื่อบูชาเป็นกัณฑ์เทศน์ แต่ความตระหนี่ได้เข้าขัดขวาง เป็นอย่างนี้ตลอดยามแรกและยามที่สอง พอถึงยามที่สามเขาก็สามารถเอาชนะความตระหนี่ได้ และได้ถวายผ้าห่มผืนเดียวกันนั้นแด่พระศาสดา พร้อมเปล่งอุทานออกมา 3 ครั้งว่า “ ชิตํ เม, ชิตํ เม, ชิตํ เม, แปลว่า เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว”

อานิสงส์ของทานได้เผล็ดผลทันตาเห็นตามกฎของกรรมในข้อ ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม เมื่อพระเจ้าปสนทิโกศล ซึ่งประทับนั่งทรงธรรมอยู่ ณ ที่นั้นด้วย ทรงสดับคำเปล่งอุทานเช่นนั้น ก็รับสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปสอบถาม

เมื่อทรงทราบความจริงแล้ว ได้พระราชทานสิ่งของมากมายแก่พราหมณ์จูเฬกสาฎกนั้น พระภิกษุทั้งหลาย ประชุมกันกล่าวสรรเสริญพราหมณ์จูเฬกสาฎก พระศาสดาจึงตรัสว่า ถ้าพราหมณ์ได้บูชาพระศาสดาตั้งแต่ในตอนยามต้นๆ จะได้ทรัพย์ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น

แล้วจึงตรัสพระธรรมบท พระคาถานี้ว่า
อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ
ปาปา จิตฺตํ นิวารเย
ทนฺธํ หิ กรโต ปุญญํ
ปาปสฺมึ รมตี มโนฯ

(อ่านว่า)
อะพิดถะเรถะ กันละยาเน
ปาปา จิดตัง นิวาระเย
ทันทัง หิ กะระโต ปุนยัง
ปาปัดสะหมิง ระมะตี มะโน.

(แปลว่า)
ท่านทั้งหลาย จงรีบขวนขวายในความดี
จงห้ามจิตเสียจากความชั่ว
เพราะเมื่อทำความดีช้า
ใจจะยินดีในความชั่วเสียก่อน.

เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
          ขึ้นชื่อว่า “หนังสือ” เชื่อแน่ว่าคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธหรอกว่า หนังสือคือประตูนำเข้าสู่โลกรู้แจ้งเห็นจริง ชาวนาผู้หนึ่งอยู่ไกล้โพ้นแห่งมหานครของชาติตน  แต่เขาสามารถรู้หลาย ๆสิ่งหลาย ๆอย่างเกี่ยวกับเมืองหลวงของเขา  หากเขาได้อ่านได้ศึกษาหนังสือเกี่ยวกับมหานครแห่งนั้น          “หนังสือคือประตูสู่โลกกว้าง” คือนิยามแห่งสัจจะในยุคโลกาภิวัตน์          คนแก่คนเกืท่านเคยอบรมสั่งสอนลูกหลานของท่านว่า “ถ้าอยากมีความรู้ ต้องหมั่นอ่านหนังสือหนังหา ถ้าอยากมีวิชาให้หมั่นร่ำหมั่นเรียน” จากคำกล่าวนี้  ข้าพเจ้าใคร่ขอนำเอาคำกล่าวมาแยกชี้แนะให้เข้าใจแจ่มแจ้งแห่งความเป็นไปได้           คำว่า “ถ้าอยากมีความรู้ต้องหมั่นอ่านหนังสือหนังหา” ตามปกติแล้วคนเราไม่ว่าใครก็ตามก็ย่อมรู้จักหนังสือ และเคยอ่านหนังสือ แต่คนเราจะอ่านแต่เพียงหนังสือที่มีอยู่เพียงอย่างเดียวคงไม่พอแน่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่น่าจะนำ ไปสู่โลกกว้างอีกทางหนึ่งก็คือการอ่าน “หนังหา”  โดยข้าพเจ้าขอแยกแยะความหมายของคำว่า “หนังหา” ไว้ดังนี้ คือ หนังหาน่าจะมาจากคำว่า “หนังสือบวกกับคำว่าแสวงหา”  เมื่อหนังสือกับการแสวงหามารวมกันจึงเป็นหนังหา ทีนี้เรามาดูความหมายของคำว่า “หนังสือหนังหา” กัน หนังสือหนังหา หมายถึง หนึงสือที่เราต้องการศึกษา แล้วเราก็แสวงหามา เพื่อความรู้แจ้งเห้นจริงในสิ่งนั้น ๆ นั่นคือเราอยากทราบเรื่องอะไร ก็หาหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนั้น มาอ่านมาศึกษา  แล้วเราก้จะรู้ในสิ่งที่เราต้องการ  การหาหนังสือมาอ่านนั้นทุกวันนี้หาได้ง่ายมาก เช่น ซื้อจากร้าน ขายหนังสือทั่ว ๆไป หรือถ้าไม่มีงบในการซื้อก็ไม่ยาก เพราะทุกวันนี้ห้องสมุดมีเป็นจำนวนมาก หรือหากไม่สามารถ จะกระทำได้ตามที่กล่าว ข้าพเจ้าขอแนะนำแหล่งความรู้อีกแห่งหนึ่งที่เราสามารถจะไปหาได้โดยง่าย คือ คุณครู ที่โรงเรียน  เจ้าหน้าที่เกษตร  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตำรวจ ฯลฯ บุคคลที่กล่าวมานี้ล้วนเป็นแหล่งความรู้ทั้งสิ้น เมื่อเราเข้าถึงท่านได้ หนังสือดี ๆที่ท่านมีอยู่ ท่านคงไม่ปฏิเสธในความต้องการอยากเรียนรู้ของเราแน่ แล้วเราก็จะได้ เป็นผู้ที่ได้อ่านหนังสือหนังหาอย่างแท้จริง       ส่วนคำว่า “ถ้าอยากมีวิชาให้หมั่นร่ำหมั่นเรียน” ตามความหมายก็คือการเรียนเป็นประจำนั่นเอง เมื่อดูตาม ความหมายแล้ว การเรียนหนังสือจึงไม่เพียงแต่การเรียนในห้องเรียนเท่านั้น การเรียนที่ต่อเนื่องและประจำจึงน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับ “การอ่านหนังสือ” ไปในตัวด้วย  ดังเช่นการเรียนหนังสืออยู่ที่บ้าน การเรียนของเราก็คือการอ่าน นั่นเอง  การเรียนโดยการอ่านนั้นเราสามารถทำได้ในหลาย ๆสถานที่เหมือนกัน นอกจากการอ่านที่บ้านแล้ว เราก็สามารถอ่านได้ตามที่สาธารณะทั่วไป เช่น เราเข้าไปในห้องน้ำห้องส้วมตามสถาบันการศึกา หรือโรงงานต่าง ๆ เชื่อแน่ว่าต้องมีวรรณกรรมตามฝาผนังอย่างแน่นอน วรรณกรรมตามฝาผนังนั้น  ทำให้ผู้อ่านได้รู้กว้างเกี่ยวกับจิตใจ ของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี  เพราะวรรณกรรมเหล่านี้ จะเขียนจากความรู้สึกจริง ๆของผู้เขียน          จากที่กล่าวมาข้างต้น ก็พอจะมองให้เราได้เห็นว่า การอ่านหนังสือนั้น ทำให้เราได้รับความรู้และประสบการณ์ ใหม่ ๆ การนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม สิ่งที่เราอ่านแล้วเห็นว่าดี เราก็นำไปประพฤติปฏิบัติ สิ่งใดไม่ดีก็หลีกเลี่ยง  การอ่านหนังสือจะมีคุณค่าต่อชีวิตอย่างมากหากเราใช้ “ใจ”อ่านหนังสือ  ใช้ “ความคิด” วิเคราะห์สิ่งที่อ่าน ดังนั้นคำกล่าวที่ว่า “หนังสือคือประตูสู่โลกกว้าง” จึงเป็นคำกล่าวที่ใครจะปฏิเสธไม่ได้            ข้าพเจ้ามีความเชื่อเช่นนี้จริง ๆ แหล่งภาพประกอบ www.sema.go.th www.parents2child.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น